โซล่าฟาร์ม ก็คือโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดย่อม ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยควบคุม การทำงาน ที่เกิดขึ้นมาจากแหล่งพลังงานของโซล่าเซลล์ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ใช้จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นการหาพลังงานทดแทนเพื่อช่วยในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัน ในปัจจุบันก็ได้มีความนิยมเลือกนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์ แหล่งพลังงานทางเลือก ในการช่วยผลิดพลังงานไฟฟ้า มาใช้งานตามบ้านเรือนทั่วไป ด้วยการใช้ และเพิ่มขนาดของตัวแผงโซล่าเซลล์ให้มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าในปริมาณที่สูง
การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่ (Fixed System)
การติดตั้งโซลาเซลล์แบบยึดอยู่กับที่นั้น ถือว่าได้รับความนิยมมากที่สุด โดยจะเป็นการนำเอาแผลโซลาเซลล์มาติดตั้งไว้กับตำแหน่งที่ต้องการอย่างชัดเจน โดยที่ก่อนที่จะทำการติดตั้งทุกครั้ง ควรที่จะต้องศึกษารายละเอียด และตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องของแสงอาทิตย์ให้มั่นใจเสียก่อน เพื่อที่จะสามารถหาข้อมูลของจุดที่จะทำการติดตั้ง องศาในการติดตั้ง เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์จะได้รับแสงอาทิตย์ ความเข้มของแสง ได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้โซล่าเซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยข้อดีของการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบนี้คือ จะมีต้นทุนในการติดตั้งที่ไม่แพง การซ่อมบำรุงที่เข้าถึงง่าย แต่ก็จะรับแสง และผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดในบางช่วงเวลาเท่านั้น
การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)
การติดตั้งโซลาเซลล์แบบนี้ จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นนั้นก็คือ จะสามารถเคลื่อนที่ และหมุนแผงโซลาเซลล์ ตามดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งพลังงานได้ ซึ่งจะอาศัยโปรแกรมเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการควบคุมการหมุน เพื่อที่จะสามารถทำให้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้โดยตรง โดยที่จะได้ความเข้มของแสงได้สูงที่สุด โดยการติดตั้งโซลาเซลล์แบบนี้ จะทำการผลิตพลังงานของกระแสไฟฟ้า ออกมาได้ดีกว่าการติดตั้งแบบยุดอยู่กับที่ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูงกว่า
การติดตั้งโซล่าฟาร์มแบบลอยน้ำ (Floating System)
สำหรับวิธีสุดท้าย จะเป็นวิธีการนำเอาแผงโซลาเซลล์ที่เป็นแหล่งผลิตพลังงานมาติดตั้งบนพื้นผิวน้ำ โดยติดตั้งบนทุ่นที่มีคุณสมบัติที่ลอยน้ำได้ โดยที่จุดเด่นของการติดตั้งแผงโวล่าเซลล์บนผิวน้ำ คือ ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าบนพื้นดิน เพราะบนผิวน้ำ จะสามารถทำให้มีการผลิตความร้อนออกมาได้ดีกว่า ซึ่งจะทำให้แผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพมากกว่า โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียพื้นผิวของดินในการใช้งานอีกด้วย